"อุบาสิกาคู่แรกของโลก" ผู้ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ !!

     
      พระพุทธศาสนา เราจะรู้ได้ว่า พุทธศาสนิกชนนั้นมีมากมายเป็นอันดับต้นๆของโลก น่าเชื่อได้ว่า ชนชาติมอญเป็นผู้ถึงพระพุทธศาสนาก่อนใครในสุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำนานมอญระบุว่า ภายหลัง ตะเป๊า ตะปอ (ตปุสสะ ภัลลิกะ) พ่อค้าวาณิชมอญสองพี่น้อง ได้เข้าเฝ้าถวายข้าวสัตตุแด่องค์พระสัมมาหลังตรัสรู้ ตะเป๊า ตะปอจึงนับเป็นอุบาสกคู่แรกของโลก
หลังจากพระพุทธเจ้าเสวยข้าวสัตตุนั้นแล้ว ได้ลูบพระเศียรซึ่งมีพระเกศาติดพระหัตถ์มาด้วย ๘ เส้น ทรงประทานพระเกศานั้นแด่สองพี่น้องเป็นสิ่งแทนพระองค์ เพื่อน้อมนำถึงพระธรรมคำสอนของพุทธองค์อันเป็นมงคลชีวิต สองพี่น้องได้นำกลับมาถวายกษัตริย์แห่งรามัญประเทศนาม พระเจ้าเอิกกะลาปะ พระองค์โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์เละเกิ่ง (ชเวดากอง) ประดิษฐานไว้ยังรามัญเทศะสืบมา
ส่วนในทางประวัติศาสตร์ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ “สมันตปาสาทิกา” โดยพระพุทธโฆษาจารย์ (มีชีวิตอยู่เมื่อ พ.ศ. ๙๒๗-๙๗๓) และ “มหาวงศ์” ในรัชสมัยพระเจ้ามหานามะ (ครองราชย์ พ.ศ. ๙๕๕-๙๗๗) คัมภีร์ทั้งสองแต่งในลังการาวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ระบุว่า ในราวปี พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐- ๓๑๑) ได้อาราธนาพระสมณทูต อัญเชิญพระไตรปิฎกออกเผยแผ่ไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น ๙ สาย หนึ่งในนั้นคือ ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่นำโดยพระมหาเถระสำคัญทั้งสอง คือ พระโสณะ และพระอุตตระ ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกลงเรือสำเภาจากดินแดนพุทธภูมิสู่รามัญประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการประดิษฐานพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิอย่างมั่นคง
“จารึกกัลยาณี” โดยพระเจ้าธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๕) กษัตริย์มอญแห่งหงสาวดี รับสั่งให้จารึกศิลา ๑๐ หลัก เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๒ อันเป็นแหล่งอ้างอิงประวัติพุทธศาสนาที่สำคัญของชาติต่างๆ ระบุว่า “สุวรรณภูมิ” สถานที่ซึ่งสมณทูตของพระเจ้าอโศกทั้งสองได้นำพระไตรปิฎกมาถึงนั้นมีชื่อเรียกว่า “รามัญประเทศ” หรือ “ประเทศของชาวมอญ” ปัจจุบันคือดินแดนทางตอนใต้ของ “ประเทศเมียนมา”
การอภิปรายในแวดวงวิชาการจากหลักฐานเท่าที่พบ พอจะสรุปได้ว่า “สุวรรณภูมิ” คือดินแดนทางตะวันออกของอินเดีย ส่วนที่เป็นแผ่นดิน มีความเป็นไปได้ว่า น่าจะเป็นประเทศเมียนมา ไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนที่เป็นเกาะน่าจะได้แก่ ชวา สุมาตรา (อินโดนีเซีย) และฟิลิปปินส์ และเมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พบว่า เมืองสะเทิม เมืองอู่ทอง และเมืองนครปฐม สมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุดและร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑
อย่างไรก็ตาม ตำนานการอัญเชิญพระไตรปิฎกโดยสำเภาจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิยังคงเป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจให้โน้มน้าวถึงวาระสำคัญแห่งการมาถึงของพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงถึงความมั่นคงในศรัทธาของชาวมอญ กระทั่งสืบทอดความเชื่อตามคติมอญมาจวบจนปัจจุบัน อันนับเป็นเอกลักษณ์วัดมอญอย่างหนึ่งที่มักจะขาดเสียไม่ได้ นั่นคือ พระเจดีย์สามองค์ (แทนพระไตรปิฎก) ตั้งอยู่บนเรือสำเภา

“ร่างทรงคนสุดท้าย”

       
      “ร่างทรงคนสุดท้าย” ในคาซัคสถานและพิธีล้างบาปให้กับสาวก  พิธีกรรมต่างๆ ที่มีขึ้นแตกต่างกันไปในทั่วโลกก็คงจะสร้างความประหลาดใจให้กับคนต่างถิ่นที่ได้เข้ามาสัมผัสหรือพบเห็น ไม่ต่างกับช่างภาพคนนี้ที่มีชื่อว่า Denis Vejas ที่เข้าไปเก็บภาพพิธีกรรมที่ไม่ธรรมดาในคาซัคสถาน เขาได้ใช้ช่วงฤดูหนาวเก็บเอาเรื่องราวต่างๆ จากการเดินทางของร่างทรงที่เปรียบได้กับผู้นำทางศาสนาของ Sufism นับเป็นแขนงหนึ่งในศาสนาอิสลาม กับหน้าที่ในการออกเดินทางไปเรื่อยเพื่อการรวมศาสนาลึกลับต่างๆ และวัฒนธรรมพเนจรเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์
เธอคนนั้นมีชื่อว่า Bifatima Dualetova เรียกได้ว่าเธอนั้นเป็นหนึ่งในร่างทรงที่เหลืออยู่เป็นกลุ่มสุดท้ายในประเทศนี้ และหาได้ยากยิ่งมาก แม้ว่าภาพที่ได้มาอาจดูน่าตกใจอยู่บ้าง แต่นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ผูกขาดให้เกิดความเคารพและยำเกรงอย่างมากในพื้นที่นั้นๆ
การนับถือความยากจนทำให้เธอใช้วิธีการเดินไปหมู่บ้าน Scared ท่ามกลางความหนาว เพื่อการประกอบพิธีชำระบาปให้กับเหล่าผู้ติดตาม พิธีดังกล่าวต้องทำการตัดหัวแกะออกและอาบเลือดของมันในห้วยน้ำที่เย็นยะเยือก จากข้อมูลที่เธอให้มาก็ได้มีพิธีกรรมที่เลียนแบบเกิดขึ้น เมื่อมาถึงก็ถูกปลกคลุมไปด้วยเลือดและจึงจะล้างตัวด้วยน้ำ
ช่างภาพที่ติดตามเธอไป ได้บอกว่า “มันก็เหมือนกับการเดินทาง แต่มันคือการเดินทางที่ต้องเจอกับคนที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กับหลักปรัชญาที่เป็นแกนหลักของชีวิตชุมชน” เขาบอกอีกว่าผู้ติดตามบางคนก็จะมาอยู่กับเธอเพียงไม่กี่วัน แต่บางคนที่มองว่าเธอเป็นผู้รอบรู้ก็จะมาอยู่กับเธอนานเป็นปี มันเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์อย่างแท้จริงทำให้เขาต้องตกอยู่กับความอัศจรรย์ และเกือบที่จะบังคับให้จิตใจตัวเองเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวได้
หากว่าคุณสนใจผลงานเหล่านี้แล้วละก็สามารถเข้าไปติดตามช่างภาพคนนี้ได้ในอินสตาแกรม denisvejas หรืออีกช่องทางคือเว็บไซต์ denisvejas