กสทช.เร่งคุมเข้มโทร.ผ่านเน็ต สั่งบล็อก 52 เบอร์ปลอมจากตปท. แก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเหยื่อ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 12 ม.ค. 2561 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชน หลังจากได้หารือร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
โดยเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า รูปแบบการกระทำผิดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทั้งหมดได้ใช้การโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต VOIP โดยตั้งค่าแสดงเลขหมายไปยังปลายทางให้เป็นเบอร์เดียวกับหน่วยงานราชการสำคัญของไทย หรือเลขหมายโทรศัพท์ของผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปปง. กรมสรรพากร กรมศุลากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขหมายที่เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้นๆ จึงทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย
“วิธีนี้พอประชาชน เช็คเลขหมายที่โทร.เข้ามา ก็จะพบว่า เป็นเลขหมายของหน่วยงานราชการนั้นๆ จริง จึงหลงเชื่อได้ง่าย พอมิจฉาชีพให้โอนเงินให้โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ก็เชื่อ ทำให้สูญเงินเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเบอร์ปลอมที่เจตนาตั้งค่าในระบบตั้งแต่ต้นทางในต่างประเทศ ไม่ใช่การโทร.จากหน่วยงานนั้นจริงๆ”
เดิมรูปแบบการให้บริการ VOIP ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะแสดงเลขหมายที่โทร.เข้าให้ผู้รับปลายทางตามที่ต้นทางได้ตั้งค่าไว้ เพราะไม่คิดว่าจะมีผู้เจตนาทุจริต ขณะที่เทคโนโลยีการบริการ VOIP เปิดช่องให้ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่าเลขหมายที่ต้องการแสดงให้ปลายทางได้ทราบได้เอง จึงกลายเป็นช่องทางว่างให้เกิดการหลอกลวง
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น สำนักงาน กสทช.จะร่วมมือกับ 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีโอที กสท โทรคมนาคม เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เอช และ 3BB ปิดกั้นการโทร.เข้าประเทศไทยของบริการ VOIP ที่ตั้งค่าแสดงเลขหมายปลอมทั้งหมด 52 เลขหมายตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทันที และจะเพิ่มการบล็อกเลขหมายตามที่มีการแจ้งอย่างต่อเนื่อง
“ตั้งแต่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ให้บริการประชาชนร้องทุกข์ปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อ 8 ธ.ค. 2560 พบมีผู้ตกเป็นเหยื่อ 167 ราย มีการใช้เบอร์โทรศัพท์ 52 เลขหมายปลอมเป็นหน่วยงานรัฐเข้ามาหลอกลวง ทางตำรวจจึงได้แจ้งให้ กสทช.ประสาน 6 ผู้ให้บริการบล็อกเลขหมายทั้งหมดทันที เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีผู้เสียหายเพิ่มอีก”
ขณะที่มาตรการระยะกลางคือ 6 ผู้ให้บริการจะพัฒนาระบบกลางและทำฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ทุกครั้งที่มีเลขหมาย VOIP โทรเข้ามาในประเทศไทย จะไม่สามารถแสดงเลขหมายได้ตามที่ตั้งค่าไว้อีกต่อไป แต่จะต้องแสดงเลขหมายที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับไปได้เมื่อมีการกระทำผิด
“ต่อไปภายใน 2 เดือนจากนี้ การโทรผ่าน VOIP จะโชว์เบอร์ต้นทางตามที่ต้องการไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องโชว์เลขหมายที่ถูกกำหนดขึ้นเป็นหมวดเฉพาะ เพื่อจะระบุได้ว่า เป็นการใช้บริการผ่านท่อของโอเปอเรเตอร์รายใด อาทิ ถ้าใช้ท่อของทีโอที ก็จะเป็นเลขหมาย 02 xxxxxxx ซึ่งถ้ามีการใช้เบอร์นี้กระทำผิด ก็จะรู้ว่าต้องไปเช็คย้อนกลับที่ทีโอที เพื่อให้ตรวจสอบว่า ต้นทางโทร.มาจากประเทศไหน ซึ่งจะตามหาคนกระทำผิดได้ง่ายขึ้น โดยเท่าที่หารือร่วมกัน ผู้ประกอบการทุกรายยินดีร่วมมือลงทุนพัฒนาระบบ โดยไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด”
ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช.ได้ทำข้อความแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ผู้ประกอบการนำไปเผยแพร่ต่อด้วย โดยย้ำให้ผู้บริโภคตั้งสติ อย่าหลงเชื่อ อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคล เช็คข้อมูล ตัดสายทิ้ง โทร.แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะไม่มีหน่วยงานรัฐไหนจะโทรไปเรียกร้องเงินทอง
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 12 ม.ค. 2561 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชน หลังจากได้หารือร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
โดยเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า รูปแบบการกระทำผิดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทั้งหมดได้ใช้การโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต VOIP โดยตั้งค่าแสดงเลขหมายไปยังปลายทางให้เป็นเบอร์เดียวกับหน่วยงานราชการสำคัญของไทย หรือเลขหมายโทรศัพท์ของผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปปง. กรมสรรพากร กรมศุลากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขหมายที่เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้นๆ จึงทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย
“วิธีนี้พอประชาชน เช็คเลขหมายที่โทร.เข้ามา ก็จะพบว่า เป็นเลขหมายของหน่วยงานราชการนั้นๆ จริง จึงหลงเชื่อได้ง่าย พอมิจฉาชีพให้โอนเงินให้โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ก็เชื่อ ทำให้สูญเงินเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเบอร์ปลอมที่เจตนาตั้งค่าในระบบตั้งแต่ต้นทางในต่างประเทศ ไม่ใช่การโทร.จากหน่วยงานนั้นจริงๆ”
เดิมรูปแบบการให้บริการ VOIP ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ทั้งอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะแสดงเลขหมายที่โทร.เข้าให้ผู้รับปลายทางตามที่ต้นทางได้ตั้งค่าไว้ เพราะไม่คิดว่าจะมีผู้เจตนาทุจริต ขณะที่เทคโนโลยีการบริการ VOIP เปิดช่องให้ผู้ใช้บริการสามารถตั้งค่าเลขหมายที่ต้องการแสดงให้ปลายทางได้ทราบได้เอง จึงกลายเป็นช่องทางว่างให้เกิดการหลอกลวง
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น สำนักงาน กสทช.จะร่วมมือกับ 6 ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีโอที กสท โทรคมนาคม เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เอช และ 3BB ปิดกั้นการโทร.เข้าประเทศไทยของบริการ VOIP ที่ตั้งค่าแสดงเลขหมายปลอมทั้งหมด 52 เลขหมายตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทันที และจะเพิ่มการบล็อกเลขหมายตามที่มีการแจ้งอย่างต่อเนื่อง
“ตั้งแต่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งศูนย์ให้บริการประชาชนร้องทุกข์ปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เมื่อ 8 ธ.ค. 2560 พบมีผู้ตกเป็นเหยื่อ 167 ราย มีการใช้เบอร์โทรศัพท์ 52 เลขหมายปลอมเป็นหน่วยงานรัฐเข้ามาหลอกลวง ทางตำรวจจึงได้แจ้งให้ กสทช.ประสาน 6 ผู้ให้บริการบล็อกเลขหมายทั้งหมดทันที เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีผู้เสียหายเพิ่มอีก”
ขณะที่มาตรการระยะกลางคือ 6 ผู้ให้บริการจะพัฒนาระบบกลางและทำฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ทุกครั้งที่มีเลขหมาย VOIP โทรเข้ามาในประเทศไทย จะไม่สามารถแสดงเลขหมายได้ตามที่ตั้งค่าไว้อีกต่อไป แต่จะต้องแสดงเลขหมายที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับไปได้เมื่อมีการกระทำผิด
“ต่อไปภายใน 2 เดือนจากนี้ การโทรผ่าน VOIP จะโชว์เบอร์ต้นทางตามที่ต้องการไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องโชว์เลขหมายที่ถูกกำหนดขึ้นเป็นหมวดเฉพาะ เพื่อจะระบุได้ว่า เป็นการใช้บริการผ่านท่อของโอเปอเรเตอร์รายใด อาทิ ถ้าใช้ท่อของทีโอที ก็จะเป็นเลขหมาย 02 xxxxxxx ซึ่งถ้ามีการใช้เบอร์นี้กระทำผิด ก็จะรู้ว่าต้องไปเช็คย้อนกลับที่ทีโอที เพื่อให้ตรวจสอบว่า ต้นทางโทร.มาจากประเทศไหน ซึ่งจะตามหาคนกระทำผิดได้ง่ายขึ้น โดยเท่าที่หารือร่วมกัน ผู้ประกอบการทุกรายยินดีร่วมมือลงทุนพัฒนาระบบ โดยไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด”
ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช.ได้ทำข้อความแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ผู้ประกอบการนำไปเผยแพร่ต่อด้วย โดยย้ำให้ผู้บริโภคตั้งสติ อย่าหลงเชื่อ อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคล เช็คข้อมูล ตัดสายทิ้ง โทร.แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะไม่มีหน่วยงานรัฐไหนจะโทรไปเรียกร้องเงินทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น